ปัสสาวะเล็ด ปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ถ้าเกิดขึ้นกับสาวๆ คนไหนแล้ว มันกลายเป็นปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันเลยทีเดียว TOPPIC Time จะพาไปรู้จัก ปัสสาวะเล็ด คืออะไร เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และมีเทคนิค How To ในการป้องกันปัญหา กลั้นฉี่ไม่ได้ หรือ ปัสสาวะเล็ด ได้อย่างไร? เราไปเรียนรู้พร้อมๆ กัน
รู้จัก ปัสสาวะเล็ด กลั้นฉี่ไม่ได้ คือ??
จริงๆ แล้ว ปัสสาวะเล็ด เป็นโรคสำหรับผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงจำนวนมาก ทั้งที่อายุไม่มาก แต่ก็มีอาการ ปัสสาวะเล็ด จากการไอ จาม หัวเราะ หรือแม้แต่การออกกำลังกายได้เหมือนกัน
ปัสสาวะเล็ด…คือ?
ปัสสาวะเล็ด เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” หรือ Urinary Incontinence เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการ ปัสสาวะเล็ด ที่เกิดได้กับทุกเพศ เริ่มจากวัยทำงานไปจนถึงเริ่มเข้าวัยทอง
สาเหตุ ปัสสาวะเล็ด กลั้นฉี่ไม่ได้!
สาเหตุ ปัสสาวะเล็ด เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และในบางกรณีก็เกิดจากนิ่วหรือเนื้องอก ในทางเดินปัสสาวะได้
ความดันช่องท้อง ทำ ปัสสาวะเล็ด
พฤติกรรมง่ายๆ อย่าง ไอ จาม หรือหัวเราะ จะทำให้เกิดความดันในช่องท้อง จนเกิด ปัสสาวะเล็ด ออกมา แต่ระดับความรุนแรงอาจแตกต่างกัน หากไม่รุนแรงมาก อาจจะใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถรักษาให้หายได้ แผ่นซับปัสสาวะ สามารถช่วยสาวๆ ได้
มาค่ะ…ที่นี้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรืออาการ ปัสสาวะเล็ด กัน โดยเราสามารถเริ่มต้นด้วยการบริหาร “กล้ามเนื้อหูรูด” ให้แข็งแรง ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถกลั้นฉี่ได้อยู่ เพราะปัญหาอยู่ที่ “กล้ามเนื้อหูรูด” ของเราอ่อนแรง ซึ่งมีวิธีง่ายๆ แก้ปัญหาได้ ดังนี้
5 เทคนิค How To ปัสสาวะเล็ด กลั้นฉี่ไม่ได้ ทำอย่างไรดี?
1. ฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด
ขมิบ คือการทำเหมือนกำลังกลั้นปัสสาวะ โดยขมิบครั้งละประมาณ 5 วินาที แล้วหยุด 10 วินาที ทำซ้ำแบบนี้ 10 ครั้ง เริ่มต้นอาจจะทำวันละ 3 เวลาในตอนเช้า กลางวัน และเย็น ของทุกวัน แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนให้ถี่ขึ้น ปัญหา ปัสสาวะเล็ด ก็จะดีขึ้น
2. ฝึกควบคุมการขับถ่าย
พยายาม กลั้นปัสสาวะ ให้นานขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ก่อนที่จะไปปัสสาวะ ให้ยืดระยะเวลาระหว่างการเข้าห้องน้ำแต่ละครั้ง ให้นานขึ้น แต่ไม่ควรกลั้นนานเกินไป และไม่ควรเบ่งปัสสาวะอย่างรุนแรง และปัสสาวะให้หมดทันที
3. ทานอาหารที่มีกากใย
เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ลดความดันในช่องท้อง ควรทานอาหารที่มีกากใย เพื่อรองรับน้ำที่เกิดขึ้นในร่างกาย
4. เลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม
หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย และงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้ไตทำงานหนัก และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการ ปัสสาวะเล็ด
5. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
อย่าปล่อยให้น้ำหนักมากจนเกินไป เพื่อลดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะของหน้าท้อง.