โควิด-19 กลายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75 รวมถึงสายพันธุ์ย่อยในไทย ยังพบเพียง 1% และไม่มีข้อมูลแพร่เร็วและรุนแรง (พบ 9 รายในไทย) ส่วนใหญ่ 85 % เป็น BA.5…
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยภาพรวมจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 หลังตรวจสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน เบื้องต้นไปทั้งหมด 359 ราย ทั้งที่เดินทางเข้ามา และตรวจพบในประเทศ ส่วนใหญ่ 93% ยังเป็นกลุ่ม BA.4 /BA.5 จำนวน 333 ราย (พื้นที่ กทม.พบว่า 92% , ภูมิภาค พบประมาณ 94% ( BA.2.75 มี 5 ราย)
และเมื่อถอดรหัสพันธุกรรม จำนวน 803 ราย พบว่า สายพันธุ์ BA.2.75 มีเพียงจำนวน 9 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็น BA.5 อยู่ที่ 688 ราย (ประมาณ 85% พบมากขึ้น) อีก 106 ราย เป็น BA.4
“ข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ BA.2.75 และกลายพันธุ์ที่มีจุดต่อท้าย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ต่างจับตาในตำแหน่งต่างๆ มีความหมายอย่างไร เช่น การแพร่ระบาด-ความรุนแรง-การหลบวัคซีนหรือไม่
ข้อมูลใน GISAID ได้จับตาดูข้อมูล BA.2.75 และลูกหลาน พบในไทย จากการถอดรหัสพันธุกรรมมีทั้งหมด 9 ตัวอย่าง พบที่…
ณ วันนี้ในประเทศไทยยังเป็น BA.5 พบสัดส่วน 85% ส่วน BA.4 พบ 13% ส่วน BA.2.75 รวมถึงสายพันธุ์ย่อยเพียง 1% ขออย่าตื่นตระหนกจากข้อมูลในโซเชียล ขอให้ตั้งสติ” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเฝ้าจับตาสายพันธุ์โควิด ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2565 เทียบ 2 สัปดาห์ (วันที่ 15-28 ส.ค.) พบว่า BA.5 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็น 86.8% (จาก 84.8%) ส่วน BA.4 สัดส่วนลดลงเหลือ 4.2% (จาก 6.8%) ขณะที่ BA.2 ลดลงเล็กน้อย 2.5% จาก 2.6 %, BA.2.75 เป็น 1.2% จาก 0.9% ขึ้นเล็กน้อย