เพจท่องเที่ยวปลอม เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินได้อย่างมหาศาลของมิจฉาชีพ แบบก้าวกระโดด สำหรับผู้ประกอบการต่างขยายรูปแบบการทำธุรกิจมากมาย ซึ่งขณะเดียวกันก็เป็นช่องให้กับบรรดามิจฉาชีพด้วย โดยเฉพาะในยุคออนไลน์เช่นนี้
TOPPIC Time จึงอยากเตือนทุกคน ถึงรูปแบบกลโกง เพจท่องเที่ยวปลอม เพื่อให้นักท่องเที่ยว นักช้อปออนไลน์ ได้รู้เท่าทัน และไม่ตกเป็นเหยื่อ โดยตำรวจไซเบอร์ หรือกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผยว่า…
เปิดกลโกงท่องเที่ยว ให้โอนมัดจำที่พัก โรงแรม รีสอร์ทหรู
ขณะนี้มิจฉาชีพสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมเกี่ยวกับ ธุรกิจท่องเที่ยว โดยลอกเลียนแบบเพจที่พักจริง ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ พร้อมแอบอ้างเป็นเจ้าของที่พัก ธุรกิจท่องเที่ยว และทำทีเป็นแอดมินเพจหลอกลวง เพื่อให้คนโอนเงินค่ามัดจำ
จากการตรวจสอบในระบบการรับแจ้งความออนไลน์ พบ…มีผู้เสียหายหลายถูกมิจฉาชีพหลอกลวง ให้โอนเงินค่ามัดจำที่พักก่อนเดินทางเข้าพักจริง ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พักในพื้นที่ ท่องเที่ยว อย่าง ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เป็นต้น
2 กลลวงรู้เท่าทันมิจฉาชีพ กับ ธุรกิจท่องเที่ยว
1. สร้างเพจเฟซบุ๊กที่พักปลอมขึ้นมา หรือใช้เพจเฟซบุ๊ก ธุรกิจท่องเที่ยว เดิมที่มีผู้ติดตามอยู่แล้ว ตั้งชื่อหรือเปลี่ยนชื่อเพจให้เหมือนกับเพจจริง คัดลอกภาพโปรไฟล์ ภาพหน้าปก เนื้อหา และโปรโมชันต่างๆ จากเพจจริง มาใช้หลอกลวงผู้เสียหาย และใช้เทคนิคในการซื้อ หรือยิงโฆษณาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
2. ใช้บัญชีเฟซบุ๊กอวตาร แฝงตัวเข้าไปในกลุ่มแนะนำโรงแรม หรือที่พักต่างๆ โพสต์ข้อความในลักษณะว่า มีที่พักหลุดจองราคาดี กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปแล้ว ก็จะไม่สามารถติดต่อเพจนั้น หรือบัญชีอวตารนั้นได้ หรือกรณีที่แย่ที่สุด เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงที่พักจริงแล้ว กลับได้รับแจ้งว่า ไม่ได้มีการจองที่พักมาแต่อย่างใด ทำให้นอกจากจะสูญเสียทรัพย์สิน เสียเวลาแล้ว ยังจะไม่มีที่เข้าพักอีกด้วย
ถูกหลอกไม่มาก แต่จำนวนเยอะมาก
ตำรวจไซเบอร์ ยังระบุอีกว่า…ในช่วงที่ผ่านมาจากการตรวจสอบพบว่า…มีผู้เสียหายกว่า 238 ราย และมีความเสียหายรวมหลายล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ยรายละประมาณ 4,600 บาท แม้ความเสียหายไม่มาก แต่จะเห็นว่า…มีจำนวนผู้เสียหายสูงกว่าในรูปแบบอื่น โดยมีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงอีกจำนวนหนึ่ง ไม่ประสงค์แจ้งความร้องทุกข์ เพราะเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย
How To 9 วิธีการป้องกันการถูกหลอกลวงใน ธุรกิจท่องเที่ยว
1. สำรองที่พักผ่านช่องทางที่เป็นทางการ หรือผ่านผู้ให้บริการสำรองที่พักออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ เช่น Booking.com, Agoda, Traveloka หรือผ่านเว็บไซต์ของที่พักโดยตรง
2. หากต้องการที่จะเข้าสู่เพจเฟซบุ๊กใด ให้พิมพ์ชื่อด้วยตนเอง และตรวจสอบให้ดีว่า มีชื่อซ้ำ หรือชื่อคล้ายกันหรือไม่ เพจใดคือเพจจริง
3. เพจเฟซบุ๊กจริงจะต้องมีเครื่องหมายยืนยันตัวตน หากไม่มีเครื่องหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
4. โทรศัพท์ไปสอบถามที่พักก่อนโอนเงิน ว่าเพจที่พักถูกต้องหรือไม่ เลขบัญชีถูกต้องหรือไม่
5. เพจเฟซบุ๊กจริงจะมีส่วนร่วม ในการโพสต์เนื้อหา รูปภาพ หรือกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการรวิวที่พักจากผู้เข้าพักจริง
6. เพจปลอมจะมีผู้ติดตามน้อยกว่าเพจจริง และมักจะเพิ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน
7. ระมัดระวังการประกาศโฆษณาที่พักราคาถูก หรือที่พักที่อ้างว่าหลุดจอง
8. ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ ว่ามีการเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่ ผู้จัดการเพจอยู่ในประเทศใด
9.หลีกเลี่ยงการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลธรรมดา บัญชีที่รับโอนควรเป็นบัญชีชื่อที่พัก หรือบัญชีชื่อบริษัท และต้องตรวจสอบหมายเลขบัญชีทุกครั้ง ว่ามีประวัติการหลอกลวงหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ Google, blacklistseller.com หรือ chaladohn.com เป็นต้น
10. เตือนดังๆ ฝากแชร์ และบอกต่อ ต้องตั้งสติก่อนทำธุรกรรมในทุกรูปแบบ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ ที่อุบัติขึ้นในทุกมิติ!!
เรื่องราวดีแบบนี้ TOPPIC Time จะนำมาเสนออย่างต่อเนื่อง อยากให้ทุกคน ท่องเที่ยว ได้อย่างสบายใจ และไม่ถูกหลอกลวงจาก ที่พัก รีสอร์ท โรงแรม ซึ่งเป็นมิจฉาชีพตัวจริง!