ปฎิเสธไม่ได้ว่า ‘โลกการทำงาน’ กำลังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากกว่าที่เคย ดังนั้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่เหมือนเดิม สิ่งหนึ่งที่องค์กรสามารถทำได้ คือการ ฝึกอบรม พนักงานให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ซีแอค (SEAC) ผู้นำด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ พนักงานไม่ค่อยสนใจอยากเรียน ไม่รู้ว่าทำไมต้องเรียน ไม่มีแรงกระตุ้นในการเข้าเรียน หรือในตอนเรียน ก็จะไม่ตั้งใจฟัง
ทั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมา คือ ข้อมูลจาก Thinkific รายงานว่า 54% ของผู้เรียน ไม่ได้เปิดเข้าไปเรียนหลักสูตรออนไลน์ ที่ได้รับมอบหมายให้เรียนเลยด้วยซ้ำ เมื่อพนักงานไม่ตั้งใจที่จะเรียน ผลที่ตามมาคือ พนักงานไม่ได้ประโยชน์จากการเรียนเท่าที่ควร ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ว่าทำไมการ Training ขององค์กร ถึงออกมาไม่ได้ผลSEAC
คำตอบของเรื่องนี้ คงต้องยกเอาแนวคิดของ Simon Sinek มาอ้างอิงถึงนั้นคือ องค์กรและผู้บริหาร มักจะไม่ค่อยเริ่มต้นด้วยคำถาม ‘Why’ และแน่นอนว่า…การตั้งคำถามนี้ สามารถนำมาใช้กับเรื่องของการจัด Training ด้วยเช่นกัน เพราะองค์กรหลายองค์กรมักจะลืม Step เริ่มต้นที่สำคัญและแสนจะธรรมดา แต่ไม่ง่ายเพื่อที่จะดึงให้ผู้เรียนเห็นว่า ทำไมพนักงานต้องเข้า ฝึกอบรม และพัฒนาตัวเอง และหากองค์กรอยากเห็นการ ฝึกอบรม ที่สร้างผลลัพธ์ที่ดี จำเป็นต้องใช้เวลา ในการที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีแรงจูงใจที่เข้ามาเรียน โดยต้องเปลี่ยน Mindset ของพนักงาน จากที่แค่บอกว่า…ต้องเรียน มาเป็นเรียนแล้วตัวพนักงานจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งเรื่องนี้องค์กรต้องทำมากกว่าแค่การบอกและอธิบายง่ายๆ โดยต้องเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเห็นว่า เรียนทำไม และเรียนอะไร ในมุมที่เอาผู้เรียนเป็นตัวตั้ง และทำให้พนักงานเห็นผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองให้ได้ นอกจากนี้ การอ้างอิง หรือยกคำถาม หรือปัญหาที่พนักงานเจอในสถานการณ์จริง แล้วบอกว่า…หลักสูตร ฝึกอบรม นี้จะช่วยให้คำตอบ หรือช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างไรแบบเฉพาะรายบุคคล จะสามารถทำให้พนักงานเห็นภาพ เหมือนกับการทำการตลาด เพื่อจูงใจผู้เรียน ก่อนที่จะเริ่มเรียนจริง ซึ่งกระบวนการตรงนี้ สอดคล้องกับหนึ่งในแนวคิดนวัตกรรมการออกแบบการเรียนรู้ SMART 456 Learning Experience ของ SEAC ภายใต้ 5 Phase ซึ่งใน phase แรกๆ ก่อนเริ่มเรียน จะเป็นกระบวนการที่จะเริ่มสร้าง หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้น กับการเรียนและอยากที่จะเข้าเรียนจริง โดยมองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง คล้ายเป็นหลักจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ที่เอาผลประโยชน์และความต้องการของผู้เรียนมาเป็นตัวตั้ง และเอาปัญหาที่ผู้เรียนเจอ มาบอกว่าเรียนแล้วจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ทำให้เกิดแรงจูงใจ และความอยากเรียน และเมื่อผู้เรียนมีใจพร้อมจะเรียน ความตั้งใจ ใส่ใจเนื้อหา ก็จะเพิ่มทวีคูณ ทั้งนี้ ผู้ออกแบบการฝึกอบรม อาจจะใช้ช่องทางการสื่อสารในแบบต่างๆ มาช่วย อาจจะเป็นในรูปแบบง่ายๆ เช่น VDO ที่ต้องให้ทุกคนได้ดู การจัดเป็นกิจกรรม Event เล็กๆ เพื่อสื่อสาร หรือจะเป็นการประชุมทางการ และมีช่วงถามตอบ โดยเฉพาะถ้าผู้เรียนอยู่ในตำแหน่ง ที่มีบทบาทสำคัญ การสื่อสารแบบเฉพาะบุคคล ก็นับเป็นเรื่องที่คุ้มค่า เมื่อคิดถึงผลที่จะได้กลับมา สรุปง่ายๆ ก็คือ การทำให้พนักงานหรือผู้เรียนได้มองเห็นถึงประโยชน์จากการฝึกอบรม ที่มีต่อการทำงาน หรือการใช้ชีวิตของตน เรียนแล้วได้อะไร และทำไมควรเรียน เป็นเหมือนการตั้งคำถาม ให้ผู้เรียนคิดถึงผลประโยชน์ของตัวเอง จากคำถาม Why และถ้าวันนี้องค์กรไหน ถ้าจะลงทุนเพื่อฝึกอบรมในวงเงินมูลค่ามหาศาล แต่ไม่เริ่มที่ Why ก่อน ก็เท่ากับว่าเอาเงินไปทิ้ง เหมือนกับสำนวนไทยที่ว่า…ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำนั้นเอง หากท่านสนใจการพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วยวิธีการ รูปแบบ และเครื่องมือที่สามารถเห็นผลสัมฤทธิ์ได้จริง สามารถติดต่อ