อาหาร ก็ถือเป็นอัตลักษณ์ความเป็นไทย นอกจากวัฒนธรรม ภาษาไทย แต่งชุดไทยแล้ว “อาหารไทย” คืออีกหนึ่งอย่างที่โด่งดังไปได้ทั่วโลก ซึ่งเรื่องราวของอาหารนั้น ถ่ายทอดได้จากรุ่นสู่รุ่น อาหารท้องถิ่น ก็เช่นกัน TOPPIC Time จะพาไปเช็ค เมนูอาหารแต่ละจังหวัด จังหวัดใครเจ๋งสุดอาจบอกไม่ได้ แต่ถามว่า แล้วคุณที่จังหวัดนั้นเคยกินรึเปล่า นี่สินะ…คำตอบของ อาหารท้องถิ่น แล้วถ้าอยากกิน เราจะไปเสาะหาที่ไหนดี??
อาหารท้องถิ่น อาหารแต่ละจังหวัด คุณเคยกินมั้ย?
กับ 1 จังหวัด 1 เมนูเชิดชู อาหารท้องถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” จากการที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผนึกทุกภาคส่วนทั่วประเทศ คัดสรรเมนูอาหารไทยพื้นถิ่น รวม 77 เมนู เพื่อผลักดันต่อยอดในหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งร้านอาหาร การท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจ นำรายได้ให้กับประเทศ
“แต่ละเมนูที่ผ่านการคัดเลือกเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาด้าน อาหาร มีสรรพคุณในทางยาสมุนไพร มีส่วนผสมหรือเครื่องปรุงที่ถูกหลักโภชนาการ ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นมรดกที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงใกล้จะสูญหาย ด้วยขั้นตอนกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากซับซ้อน อาจจะไม่เหมาะสำหรับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน จึงเป็นเมนูอาหารที่ทรงคุณค่าต่อการอนุรักษ์สืบสาน และส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดให้ได้รับความนิยมต่อไป”
เปิดเมนูรสเด็ด อาหารท้องถิ่น 77 จังหวัด
- ข้าวตอกตั้ง – กรุงเทพมหานคร
- แกงมัสมั่นกล้วยไข่ – กำแพงเพชร
- ยำไกน้ำของ (สาหร่ายแม่น้ำโขง) – เชียงราย
- ตำจิ๊นแห้ง – เชียงใหม่
- เมี่ยงจอมพล – ตาก
- ทอดมันปลากราย – นครสวรรค์
- แกงแคไก่พื้นเมือง – น่าน
- หลนปลาส้มพะเยา – พะเยา
- ยำส้มโอกระทงทองสูตรเมืองชะลาวัน – พิจิตร
- น้ำพริกเม็ดบัวปลาย่าง – พิษณุโลก
- ปิ้งไก่ข้าวเบือ – เพชรบูรณ์
- น้ำพริกน้ำย้อย – แพร่
- ข้าวส้ม โถ่โก้ – แม่ฮ่องสอน
- ยำปลาแห้ง – ลำปาง
- แกงฮังเลลำไย อำเภอเมืองลำพูน – ลำพูน
- ข้าวเปิ๊บสุโขทัย – สุโขทัย
- อั่วบักเผ็ด – อุตรดิตถ์
- ข้าวแดะงา – กาฬสินธุ์
- ปลาแดกบองสมุนไพร – ขอนแก่น
- คั่วเนื้อคั่วปลา – ชัยภูมิ
- เมี่ยงตาสวด – นครพนม
- เมี่ยงคำ (โคราช) – นครราชสีมา
- หมกหม้อปลาน้ำโขง – บึงกาฬ
- ขนมตดหมา – บุรีรัมย์
- แจ่วฮ้อนท่าขอนยาง – มหาสารคาม
- ตำเมี่ยงตะไคร้ ลำข่าสดใส่มดแดง – มุกดาหาร
- อั่วกบ (กบยัดไส้) – ยโสธร
- ข้าวปุ้นน้ำยาปลาหลด – ร้อยเอ็ด
- ส้าปลาน้ำโขง – เลย
- ละแวกะตาม – ศรีสะเกษ
- แกงหวาย – สกลนคร
- เบาะโดง (น้ำพริกมะพร้าวโบราณ) – สุรินทร์
- หลามปลาน้ำโขง – หนองคาย
- เมี่ยงคำลำภู – หนองบัวลำภู
- อู๋พุงปลา – อำนาจเจริญ
- ข้าวต้มมัดบัวแดง อำเภอเมืองอุดรธานี – อุดรธานี
- ลาบหมาน้อย – อุบลราชธานี
- แกงส้มญวน – กาญจนบุรี
- ต้มปลาร้าหัวตาล – ชัยนาท
- ยำส้มโอ – นครปฐม
- ข้าวตอกน้ำกะทิทุเรียนนนท์ – นนทบุรี
- เมี่ยงคำบัวหลวง – ปทุมธานี
- แกงคั่วส้มหน่อธูปฤาษีกับปลาช่อนย่าง – ประจวบคีรีขันธ์
- แกงเหงาหงอด – พระนครศรีอยุธยา
- แกงหัวตาล – เพชรบุรี
- แกงกะลากรุบ – ราชบุรี
- ยำปลาส้มฟัก – ลพบุรี
- แกงรัญจวน – สมุทรสงคราม
- ต้มยาปลาทูโบราณ – สมุทรสาคร
- แกงบวน – สิงห์บุรี
- ปลาหมำสมุนไพรทอดกรอบ – สุพรรณบุรี
- ปลาแนม – อ่างทอง
- ต้มส้มปลาแรด – อุทัยธานี
- ลุกกะทิ หรือ น้ำพริกกะทิของพร้อมผักเคียง – จันทบุรี
- หมูหงส์ – ฉะเชิงเทรา
- ปลาคก – ชลบุรี
- แกงเลียงกะแท่งหอยนางรม – ตราด
- น้ำพริกป่ามะดัน – นครนายก
- แกงกะนางหวาน – ปราจีนบุรี
- แกงส้มผักกระชับ – ระยอง
- ขนมย่างจากใจ – สมุทรปราการ
- น้ำพริกกะสัง – สระแก้ว
- ลาบหัวปลี – สระบุรี
- ปลาจุกเครื่อง – กระบี่
- แกงส้มหยวกกล้วยกับหมูสามชั้น – ชุมพร
- โกยุก – ตรัง
- ขนมปะดา – นครศรีธรรมราช
- อาเกาะ – นราธิวาส
- ข้าวยำ – ปัตตานี
- อาจาดหู – พังงา
- แกงขมิ้น – พัทลุง
- น้ำซุปเมืองหลาง 9 อย่าง – ภูเก็ต
- ข้าวยำโจร (ข้าวยำคลุกสมุนไพร) – ยะลา
- ก็กซิมบี้ – ระนอง
- ข้าวสตู – สงขลา
- ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ – สตูล
- แกงขมิ้นไตปลาโบราณ – สุราษฎร์ธานี
นำเปิบ อาหารท้องถิ่น ชื่อเก๋ ตอกย้ำอัตลักษณ์
TOPPIC TIME ขอนำ 1- 2 เมนูมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อขยายให้เห็นหน้าตา และรสชาติ เผื่อใครมีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยว ในพื้นที่นั้นๆ ก็สามารถที่จะแวะชิม ลิ้มรสได้แบบไม่เคอะเขิน และอร่อยเต็มอิ่ม
แกงเหงาหงอด หรือ ซุปฝรั่งสำรับเครื่องคาว อาหารท้องถิ่นพระนครศรีอยุธยา
‘เหงาหงอด’ ที่มาของคำไม่คุ้นหู และไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่พูดถึง แกงเหงาหงอดรสชาติจัดได้ว่าสุดยอดของน้ำแกง คือทั้งเผ็ดร้อนและกลมกล่อม เชื่อว่าเป็นร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสได้ทิ้งไว้ โดยสันนิษฐานว่า ปรับปรุงดัดแปลงซุปทะเล (ดั้งเดิมของชาวโปรตุเกส) หรือ Bouillabaisse ที่นิยมใช้เนื้อปลาค็อด เป็นวัตถุดิบหลัก ปรุงรสน้ำซุปให้ออกเปรี้ยวด้วยมะเขือเทศ ขณะที่สมุนไพรเติมให้รสชาติเผ็ดร้อน โรยหน้าซุปด้วยโหระพาฉีกฝอย และแต่งรสด้วยเกลือเพียงอย่างเดียว และไม่ใช้น้ำตาล
ความโดดเด่น ‘เผ็ดร้อน’ ที่รสชาติคล้ายแกงส้มผสมแกงป่า จะช่วยให้คลายหนาวรักษาระบบเลือดลมได้เป็นอย่างดี ที่ใช้วัตถุดิหลักตามฤดูกาลอย่าง ‘ปลาสังกะวาด’ มาปรุง (ชุกชุมในช่วงน้ำลด เดือนอ้ายถึงเดือนสามตรงกับฤดูหนาว) จึงกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มาจนทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูล-ภาพ : งานวิชาการ สถาบันอยุธยาศึกษา
“ข้าวยำสมุนไพร” หรือ “ข้าวยำโจร” ของยะลา
อาหารท้องถิ่น ข้าวยำ หรือ นาซิกาบู ที่ชาวมุสลิมเรียกกัน จัดเป็นมื้ออาหาร ที่มีส่วนผสมหลัก 3 อย่าง ได้แก่ ข้าวสวย ผักสด (ทุกชนิด) นำมมามาหั่น ซอย แบบพอดีคำ คลุกเคล้าผสมกับข้าวสวย แล้วราดด้วยน้ำบูดู (ส่วนผสมสำคัญที่ปรุงแต่งรสชาติอาหาร) หรือจะมีเครื่องเคียง เช่น ไข้ต้ม เส้นหมี่ หรือ ข้าวเกรียบปลา รวมถึงอาจจะมี มะพร้าวคั่ว พริกไทย พริกป่น มะนาว (ปรุงตามรสชาติที่ชอบ)
ขอบคุณข้อมูล-ภาพ : เทศบาลตำบลสทิงพระ