เปิดประวัติ “อาศิส พิทักษ์คุมพล“ จุฬาราชมนตรี คนที่ 18 ถึงแก่อนิจกรรมในวัย 76 ปี ประวัติการทำงานและผลงานมากมาย…
เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 22 ต.ค. 2566 หลังจาก สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศให้ทราบว่า นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี คนที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย ได้ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เมื่อเวลา 10.32 น. และจะจัดพิธีละหมาดญะนาชะห์ (ละหมาดขอพร) ในวันพรุ่งนี้เวลา 10.00 น. ณ มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา
ทั้งนี้ ประวัติของ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี คนที่ 18 ของประเทศไทย เกิดวันที่ 6 มีนาคม 2490 อายุ 76 ปี สถานที่เกิด ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นบุตรของนายมะแอ–นางน๊ะ พิทักษ์คุมพล และมีพี่น้องจำนวน 4 คน มีคู่สมรสคือ นางร่อมิอ๊ะ พิทักษ์คุมพล
ทั้งนี้ นายอาศิส ได้จบการศึกษาจาก อัลมัดรอซะฮ์อัลนัซซอบีย๊ะฮ์ ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา และอัลมัดรอซะฮ์อัลอัดรีซียะฮ์ ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี มีความสามารถทางภาษาอาหรับ, ยาวี, บาฮาซอ มาเลเซีย, บรูไน, อินโดนีเซีย และยังมีปริญญษศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ สาขาวิชาอิสลามศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน และนโยบายและการวางแผนสังคม ในหลายมหาวิทยาลัยด้วย
โดย นายอาศิส มีประวัติการทำงาน ดังนี้
– ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา (ปี พ.ศ.2530-2553)
– รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คนที่ 1
– สมาชิกวุฒิสภา (ปี พ.ศ.2539-2543)
– คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ
– คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ตากใบ
– ประธานชมรมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้
– คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนและศึกษาสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา
– คณะทำงานเผยแพร่แนวทางที่ถูกต้องตามหลักศาสนา กระทรวงมหาดไทย
– กรรมการจัดทำหลักสูตรและตำราอิสลามศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
– กรรมการจัดทำหลักสูตรและตำราอิสลามศึกษา สมาคมคุรุสัมพันธ์
– คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
– คณะกรรมการส่งเสริมกิจการวิทยาลัยอิสลามยะลา
– สมาชิกสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– ประธานคณะกรรมการการยุติธรรม ความเสมอภาค และความมั่นคง ในสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการฮัจญ์ ในสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– คณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา
– ประธานคณะทำงานปรับปรุง ยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยครอบครัวและมรดกตามหลักการอิสลาม ในสภาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและประเมินผลการดำเนินการกิจการฮัจญ์ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา
– คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความ ไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
– คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– ประธานคณะทำงานศึกษา รวบรวม จัดทำสภาพปัญหาการใช้กฎหมายอิสลาม สำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
– คณะอนุกรรมการนโยบายและประสานงานกระบวนการยุติธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์ประสานราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
– ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการกิจการศาสนาอิสลาม ในคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
– คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
– คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
นอกจากนี้ ยังมีผลงานอีมากมาย ดังนี้…
– ร่วมจัดทำหลักสูตรและตำราอิสลามศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
– ร่วมจัดทำหลักสูตรและตำราอิสลามศึกษา สมาคมคุรุสัมพันธ์
– หนังสือ “อัลบิดอะฮฺ” สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม
– หนังสือ “350 ฮาดิษ“
– หนังสือ “40 ฮาดิษ ของอัลนาวาวีย์“
– บทเรียนเรื่อง “เอกภาพอัลเลาะฮ์ (เตาฮีด) จากอัลกุรอ่าน“
– หนังสือ “สาระเบื้องต้นของศาสนาอิสลามสำหรับเยาวชน” พ.ศ.2535
– หนังสือ “คุณค่าตับลีฆ (การเผยแพร่อิสลาม)”
– คู่มือ “การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย“
– คู่มือแนะนำอิสลามและข้อปฏิบัติต่อมุสลิมสำหรับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
– คู่มือเกี่ยวกับ “คุตบะฮ์“
– บทความ “การบริหารมัสยิด“
– บันทึกการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในชีวิต (การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์)
– บทความ “ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและแนวทางแก้ไขตามระบบอิสลาม“
– มาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนมุสลิม (หุกมปากัต) พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (เฉพาะจังหวัดสงขลา) พ.ศ.2546
– บทความ “ปอเนาะในกระแสความรุนแรง : บทบาทที่ต้องทบทวน“
– สอนวิชาตัฟซีร, ฮาดิษ, นาฮู ในสถาบันปอเนาะ
– อบรมอิหม่ามหลักสูตร “พัฒนาผู้บริหารองค์กรมัสยิด” วิชาฟิกฮุลมุอามะลาต, ฟิกฮุลอิบาดาต
– วิถีมุสลิม “จริยธรรมพื้นฐานสำหรับเยาวชน“