น้าโย่ง – ครูโจ้ – แม่วงจันทร์ ไพโรจน์ (รุ่นเดียวกับแม่ผ่องศรี วรนุช) ได้รับเชิดชูเป็น “ศิลปินแห่งชาติ 2566” จากผลงานที่ผ่านทุกสายตาคนไทยมาเนิ่นนาน ถึงวันที่ต้องยกย่อง!!
ประกาศสด ๆ ร้อน ๆ “ศิลปินแห่งชาติ 2566” TOPPIC Time มีข่าวมาอัปเดต โดยปีนี้ได้รับการยกย่อง จำนวน 12 ท่าน เป็นการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ทุกท่านมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในวงการศิลปะทุกแขนง ที่ยังรังสรรค์ ต่อเติม และอนุรักษ์ เอกลักษณ์ความเป็นไทยให้สืบทอดมาจากปัจจุบัน สมควรได้รับการยกย่อง และต้องปรบมือรัวๆ ขอสดุดีทุกท่านด้วยใจ
“ศิลปินแห่งชาติ 2566” สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณกัญญา เจริญศุภกุล (สื่อผสม)
2. นางวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล (สถาปัตยกรรมภายใน)
3. ร้อยตรี ทวี บูรณเขตต์ (ประณีตศิลป์-ช่างปั้น หล่อ)
4. นายสุดสาคร ชายเสม (ประณีตศิลป์-เครื่องประกอบฉาก)
ศิลปินแห่งชาติ 2566 สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่
1. นายประสาทพร ภูสุศิลป์ธร
2. นายวศิน อินทสระ
ศิลปินแห่งชาติ 2566 สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่
1. นายสมบัติ แก้วสุจริต (นาฏศิลป์ไทย – โขน ละคร)
2. นายไชยยะ ทางมีศรี (ดนตรีไทย)
3. นายพิเชษฐ์ เอี่ยมชาวนา (การแสดงพื้นบ้าน – เพลงฉ่อย) : ชื่อในวงการ ‘โย่ง เชิญยิ้ม’ ตลกชื่อดังแห่งยุค ที่สร้างเสียงหัวเราะ ไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ภาษาไทย
4. จ่าโทหญิง ปรียนันท์ สุนทรจามร (นักร้องเพลงไทยสากล – ลูกทุ่ง) : ชื่อในวงการ ‘วงจันทร์ ไพโรจน์’ โด่งดังจากเพลง ประกอบละคร ช่างร้ายเหลือ และสาวสะอื้น
5. นายสุธีศักดิ์ ภักดีเทวา (นาฏศิลป์สากล) : ครูโจ้ โลดแล่นในวงการบันเทิงจากฐานะบุตรชายคนที่ 2 ของนักร้องดัง (ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา) เป็นนักออกแบบท่าเต้น พิธีกร และนักปั้นคนดัง
6. รองศาสตราจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ (ภาพยนตร์) : ผลงานเด่น จากภาพยนตร์ นวลฉวี, ซีอุย แซ่อี้ง, เร็วกว่าใจไกลเกินฝัน และ คู่กรรมภาค 2
สิทธิพิเศษ-สวัสดิการดูแล ‘ศิลปินแห่งชาติ 2566’
– ค่าตอบแทนรายเดือนๆ ละ 25,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่
– ค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยอนุโลม (ให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปีงบประมาณ)
– เงินช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัยเท่าที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อครั้ง
– ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วยหรือในโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 3,000 บาท ต่อครั้ง
– ในกรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินช่วยเหลือบำเพ็ญกุศลศพ รายละ 20,000
– เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 150,000บาท เป็นต้น
นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2527 มีศิลปินแห่งชาติ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 – 2565 แล้วจำนวน 355 คน และในปีนี้ (2566) จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 367 คน มีศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตไปแล้ว 183 คน และยังมีชีวิตอยู่รวม 184 คน.