“โปรตีน” สารอาหารที่ไม่ใช่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อสภาวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผมร่วง ผิวหยาบกร้าน อีกด้วย หากเราขาดแคลน “สารอาหาร” สำคัญอย่าง “โปรตีน” ร่างกายจะเป็นอย่างไร? วันนี้กูรูเพจบันทึกหมอสั่ง นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) จะมาให้ข้อมูลดีๆ กับ TOPPIC Time แล้วเราจะชวนทุกคนไปรู้จัก “โปรตีน” เพื่อสุขภาพมากขึ้นด้วย
รู้จัก “โปรตีน” สารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้
“โปรตีน” สารอาหารที่จำเป็นหรือ? เมื่อไม่ต้องการสร้าง “กล้ามเนื้อ”
“โปรตีน” คือ “สารอาหาร” ที่ไม่ได้มีไว้สำหรับการสร้างกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว หลายคนอาจสงสัยว่า..ถ้าเราไม่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ เหมือนกับนักเพาะกาย หรือคนที่ต้องการมีกล้ามท้อง กล้ามแขน แล้วเรายังจำเป็นต้องทานโปรตีนด้วยหรือ? คุณหมอสิทธวีร์ บอกกับเราว่า “โปรตีน” จำเป็นมากๆ ในแต่ละวัน เราไม่สามารถรับโปรตีนที่มาจากอาหารเพียงพอได้เลย เพราะร่างกายไม่สามารถกักเก็บโปรตีนไว้ใช้ภายหลัง เหมือนกับสารอาหารอย่างคาร์โบไฮเดรตและไขมัน เนื่องจากร่างกายจะย่อยสลายและขับโปรตีนออกจากร่างกายในรูปแบบต่างๆ ตลอดเวลา
อาการเมื่อขาด “โปรตีน”
ลองสังเกตตัวเองกันมั้ย? ว่าเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการหลุดร่วงของเส้นผม หรือ “ผมร่วง” อาการเล็บเปราะ ป่วยง่าย ผิวหยาบกร้าน แผลหายช้า ไม่ตื่นตัว อ่อนเพลีย เหมือนไร้พลัง นี่แหล่ะคือ อาการของคนขาด “โปรตีน” ที่เราควรมานั่งเช็คลิสต์กันดู
สาเหตุที่เกิดอาการขาด “โปรตีน”
คุณหมอสิทธวีร์ อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขาด “โปรตีน” ว่า ในร่างกายมนุษย์จะมีเซลล์ที่ถือเป็นส่วนเล็กๆ ของร่างกายที่มีความสำคัญและเป็นส่วนประกอบขั้นพื้นฐานที่สุดของร่างกาย ในกระบวนการการสร้างเซลล์ใหม่ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์หรือทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ นี่คือกลไกหลักที่ช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง หากชะลอตัวลงเมื่อไร ย่อมหมายถึงร่างกายแก่ชราขึ้น และเมื่อหยุดสร้างเซลล์ อายุขัยก็สิ้นสุดลง
“โปรตีน” ไม่เหมือนกับ “สารอาหาร” อื่น!
สารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ส่วนใหญ่มาจากคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ส่วน “โปรตีน” แม้จะใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ แต่…ร่างกายจะเก็บ “โปรตีน” ในรูปของกรดอะมิโน เพื่อสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดในกรณีป่วยไข้ และ “โปรตีน” ยังเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ผม เล็บ ฯลฯ เนื่องจากในแต่ละวันร่างกายสลายและขับโปรตีนอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหลุดร่วงของเส้นผม หรือการหลุดลอกของเซลล์ผิวหนังนั่นเอง
ความจำเป็นที่ต้องรับ “โปรตีน” มากขึ้น
ดังนั้น ร่างกายจึงต้องได้รับโปรตีนทุกวัน เพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้สร้างโปรตีนชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิต รวมทั้งรักษาไว้ในรูปของกรดอะมิโนอิสระ เพื่อใช้ในบางหน้าที่ แต่เพื่อความสุขภาพดีหรือความสวยงามของผิวพรรณ เล็บ ผม “โปรตีน” จึงไม่เพียงพอ
ร่างกายต้องการ “โปรตีน” วันละเท่าไหร่?
ร่างกายของเราต้องการ “โปรตีน” ในปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละวันนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงวัย หรือกิจกรรมประจำที่ทำแตกต่างกันออกไป ทำให้ความต้องการปริมาณโปรตีนแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามโดยปกติร่างกายของเรา ต้องการโปรตีนเฉลี่ยที่ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ตาราง “อายุ” กับปริมาณ “โปรตีน”
– เด็กกำลังโต ต้องการโปรตีน 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
– ผู้ใหญ่ ต้องการโปรตีน 0.8 – 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
– หญิงมีครรภ์/ให้นมบุตร ต้องการโปรตีน +20 กรัม จากปกติ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
– นักกีฬา ต้องการโปรตีน 1.7 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
– คนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ต้องการโปรตีน 1.2 – 1.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
“โปรตีน” จากแหล่งอาหาร
“โปรตีน” จากพืช : ได้แก่ ถั่ว ธัญพืช เป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบ แต่อาจมีกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิดน้อยกว่าปกติ จึงต้องเลือกบริโภคถั่ว และธัญพืชให้หลากหลายและมากพอ
“โปรตีน” จากสัตว์ : ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ นม เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการครบถ้วน แต่มักมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งถ้าทานในปริมาณที่มากเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด
“โปรตีน” จากอาหารเสริม ตัวช่วยอาการผมร่วง ผิวหยาบกร้าน
คุณหมอบอกอีกว่า ในแต่ละวันไม่ง่ายเลย ที่คนปกติจะได้รับปริมาณ “โปรตีน” ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพมากมาย อย่าง “โปรตีน” ก็มีให้เลือกสรร ทั้งเวย์โปรตีนที่สกัดมาจากนมวัว สำหรับผู้ที่รักการออกกำลังกาย ต้องการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ หรือโปรตีนจากพืช ที่ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อย ผู้สูงอายุ และผู้ที่ทานเจ หรือมังสวิรัติ ทั้งนี้หากเราได้รับโปรตีนจากมื้ออาหารปกติ ร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ปัญหาการพร่องโปรตีน จนเกิดอาการผมร่วง เล็บเปราะ ป่วยง่าย ผิวหยาบกร้าน แผลหายช้า อ่อนเพลีย ก็จะหมดไป
ทริคก่อนเลือกกิน “โปรตีน”
ทั้งนี้เพื่อป้องกันโอกาสที่ร่างกายจะขาด “โปรตีน” เมื่ออายุมากขึ้น เมื่อไหร่ที่ตัดสินใจจะบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโปรตีน ก็ต้องมีความรู้และคัดเลือกด้วยความระมัดระวัง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ คือ มาตรฐานความปลอดภัย แหล่งที่มา ความน่าเชื่อถือของโรงงานที่ผลิต และบริษัทฯ ที่จัดจำหน่าย ที่สำคัญต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ด้วย
นี่แหละหนา…เรื่องราวของ “โปรตีน” สารอาหารที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะสาวๆ ที่รักสวยรักงาม
รีบลุกไปชงโปรตีนดื่มกันเลยจ้า.