ไข้เลือดออก ยังมีความรุนแรง ล่าสุดระบาดหนักในพื้นที่ กทม. หรือกรุงเทพมหานคร แปลกเนอะ…ทำไมยุงยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในเมื่อป่าเราลดลง หรือเป็นเพราะโลกร้อน…??
โดยในวันนี้ (7 มีนาคม 2566) กรมควบคุมโรค ได้เปิดเผยข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค ถึงสถานการณ์ โรคไข้เลือดออก ในปี 2566 ซึ่งพบว่า ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 1 มี.ค.66 มีข้อมูลดังนี้…
ยอดผู้ป่วย ไข้เลือดออก อาการ และ How To ป้องกันโรคไข้เลือดออก
– มีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย
– กลุ่มอายุที่อัตรา ป่วยไข้เลือดออก มากที่สุด 3 อันดับ คืออายุ 5-14 ปี, 15-24 ปี และ 0-4 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.81, 16.39 และ 12.76 ตามลำดับ
– อัตราส่วน เพศหญิงต่อเพศชายเป็น 1:1.10 หมายความว่า ผู้ชายป่วยมากกว่าผู้หญิงนิดหน่อย
– พื้นที่ที่ป่วยสูงสุด คือ กรุงเทพ, ภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 23.84, 16.33, 14.07, 4.60 และ 1.51 ตามลำดับ
– จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายเดือน ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 พบว่า ในเดือนมกราคม มีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้ว 6.6 เท่า
ทั้งนี้ การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพของสัปดาห์นี้ คาดว่า ในช่วงนี้มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และจากข้อมูลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ผ่านแอปพลิเคชัน อสม./อสส. ออนไลน์ สัปดาห์ที่ 8 จำนวนบ้าน 394,045 หลังคาเรือน พบบ้านที่มีลูกน้ำยุงลายจำนวน 33,661 หลังคาเรือน คิดเป็น House Index : HI ได้ร้อยละ 8.54 และได้ทำการสำรวจภาชนะจำนวน 4,332,352 ชิ้น พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายจำนวน 208,425 ชิ้น คิดเป็น Container Index : CI ได้ร้อยละ 4.81 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.พ.66)
อาการผู้ป่วย ไข้เลือดออก
- ไข้สูง
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อย
- เบื่ออาหาร
- หน้าแดง
ทั้งนี้ เราไม่ควรซื้อยามากินเอง หากมีไข้เกิน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
How To ป้องกันโรคไข้เลือดออก
– นอนในมุ้ง หรืออยู่ในห้องติดมุ้งลวด
– ใส่เสื้อผ้ามิดชิด
– ทาโลชั่นกันยุง ที่มีองค์ประกอบของ DEET (ความเข้มข้นในเด็กและผู้ใหญ่ที่แนะนำ คือ 20-30% และ 20-50%)
– เก็บบ้านให้โล่ง ปลอดโปร่ง ไม่ให้ยุงเกาะ
– เก็บน้ำ ปิดภาชนะให้มิดชิด ภาชนะที่ปิดไม่ได้ ให้เปลี่ยนบ่อยๆ เทน้ำทิ้ง
– เก็บขยะ ที่อาจเป็นแหล่งน้ำขิง เพื่อไม่ให้ยุงวางไข่