ตำรวจชี้ มิจฉาชีพ AI ปี 2567 พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ AI ระดับสูง หลอกเหยื่อแบบเนียนกริบ ยากต่อการตรวจสอบ แยกแยะจริงหรือปลอม ทั้งรูปภาพ – คลิป – เสียง – แบล็คเมล์ – ข่าวปลอม สารพัดรูปแบบจับเหยื่อ เตือนดังๆ อย่าหลงเชื่อสิ่งที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ใช้สติระดับสูงพิจารณา
TOPPIC Time ได้สรุปรูปแบบการหลอกลวงออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านทางโซเชียลต่างๆ ที่นับวันจะยิ่งหนักและมาแบบแนบเนียน หาที่ติไม่ได้ สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลให้กับเหยื่อ และยิ่งไปกว่านั้น ในปีหน้า (2567) ต้องระวังมากยิ่งขึ้น เมื่อมีเสียงเตือนมาแต่เนิ่นๆ ว่าสังเกตยาก เพราะมีการพัฒนาของ มิจฉาชีพ AI เข้ามาช่วยเพื่อหลอกลวง จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมา บอกกล่าว ย้ำเตือน
มิจฉาชีพ AI พัฒนาหลอกลวงออนไลน์
พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า ในปี พ.ศ. 2567 มีแนวโน้มว่า บรรดามิจฉาชีพ AI และคนร้าย จะนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) มาใช้ในการสร้างเนื้อหาปลอมขึ้นมา เพื่อใช้ในการฉ้อโกง หรือสร้างความเสียหาย โดยการนำ AI มาใช้สร้างภาพหรือคลิปปลอม เพื่อนำมาแสวงหาประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
– การสร้างภาพหรือคลิปปลอมเป็นบุคคลอื่น (AI Deepfakes) เพื่อใช้ในการฉ้อโกง
– การเลียนเสียงของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือคนรู้จัก (AI Voice Covers) จากตัวอย่างเสียง เพื่อใช้ในการฉ้อโกง
– การสร้างคลิปลามกปลอม (AI Deepfakes) ทำให้บุคคลอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือแสวงหาประโยชน์
– การสร้างข่าวปลอม (Fake News) ที่ดูน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก หรือความเข้าใจผิด
ปั่นคดีฉ้อโกง เสียหายกว่า 4.5 หมื่นล้าน
จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 – 30 ก.ย. 2566 มีจำนวน 365,547 เรื่อง แบ่งเป็นคดีออนไลน์ จำนวน 336,896 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหาย 45,738,507,864 บาท ส่วนผลการอายัดบัญชีสามารถอายัดได้ 167,347 บัญชี ยอดเงิน 11,251,930,652 บาท โดยมิจฉาชีพ AI ใช้รูปแบบคดีที่มีจำนวนการแจ้งความมากที่สุด
– อันดับ 1 ยังเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์” มีจำนวนกว่า 150,000 คดี มูลค่าความเสียหาย 1,952,445,391 บาท
– รูปแบบคดีที่มีความเสียหายรวมสูงที่สุด อันดับ 1 “หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์” เสียหายรวมกว่า 16,000 ล้านบาท จากน้ำมือ มิจฉาชีพ AI
– หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน มูลค่าความเสียหาย 5,425,376,535 บาท
– หลอกให้กู้เงิน มูลค่าความเสียหาย 1,667,282,574 บาท
– ข่มขู่ทางโทรศัพท์ มูลค่าความเสียหาย 5,449,237,515 บาท
– หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน มูลค่าความเสียหาย 424,280,075 บาท
– หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัล มูลค่าความเสียหาย 809,110,450 บาท
– หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบ มูลค่าความเสียหาย 960,152,219 บาท
– กระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ มูลค่าความเสียหาย 896,493,347 บาท
– หลอกให้ลงทุนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน มูลค่าความเสียหาย 656,216,834 บาท
– หลอกให้รักแล้วโอนเงิน มูลค่าความเสียหาย 933,398,624 บาท
– หลอกเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัล มูลค่าความเสียหาย 2,539,522,907 บาท
– เข้ารหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น มูลค่าความเสียหาย 65,053,657 บาท
วิธีป้องกัน มิจฉาชีพ AI หลอกลวง
– ระมัดระวังในการใช้สื่อออนไลน์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท มิจฉาชีพ AI จะพยายามใช้ทุกช่องทางในการเข้าถึงเป้าหมาย
– มิจฉาชีพ AI จะพยายามส่ง SMS การโทรศัพท์หาเหยื่อ การลงโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ
– อย่าหลงกลรูปแบบ ที่มิจฉาชีพ AI มักอ้างข้อมูลส่วนบุคคลเชิงลึกของเหยื่อใช้ประกอบการหลอกลวง
– อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น หรือได้ยินในโลกออนไลน์ จากฝีมือของมิจฉาชีพ AI
– ยึดหลัก “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ AI และอาชญากรรมออนไลน์
– หากพบตนเองถูกแอบอ้างจาก มิจฉาชีพ AI หรือปลอมบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ ให้รีบดำเนินการ “แจ้งความ รีพอร์ต บอกเพื่อน” เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท ทันที
– ระวัง เว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ปลอม ของมิจฉาชีพ AI
– หากต้องการแจ้งความออนไลน์แนะนำให้เข้าไปที่ https://www.thaipoliceonline.com หรือสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000