TOPPIC Time เสิร์ฟอาหารสมอง ส่องดวงจันทร์คืนนี้ ที่มีปรากฎการณ์บนฟากฟ้าที่ไม่ควรพลาด ‘ซูเปอร์บลูมูน’ ที่เป็น 2 ปรากฏการณ์ในคราวเดียวกัน ที่ผสมผสานแบบลงตัว ‘ซูเปอร์ฟูลมูน’(Super Full Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี (ปกติดวงจันทร์ห่างจากโลก 384,400 กิโลเมตร แต่วันนี้ดวงจันทร์จะห่างโลก 357,344 กิโลเมตร) และ ‘บลูมูน’ (Blue Moon) หรือดวงจันทร์เต็มดวง 2 ครั้งในเดือนเดียว ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่หาชมได้ยาก
กางข้อมูลส่อง ‘ซูเปอร์บลูมูน’
– ปรากฏการณ์เริ่มช่วงเย็นวันนี้ (30 สิงหาคม 2566) ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 สิงหาคม 2566
– จะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ
– จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15%
– ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก
– ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย
พลาด ‘ซูเปอร์บลูมูน’ รออีกรอบ 14 ปี
บลูมูน (Blue Moon) ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน ในทางดาราศาสตร์แล้ว บลูมูน หมายถึงดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
– ปกติดวงจันทร์มีคาบการโคจรรอบโลกประมาณ 29.5 วัน
– หนึ่งเดือนในปฏิทินมี 30-31 วัน ส่งผลให้เมื่อวันเวลาผ่านไป บางเดือนมีวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งในช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ซึ่งนานทีจะเกิดขึ้น
(ทำหลายคนนึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษ Once in a blue moon ที่หมายถึงอะไรที่เกิดขึ้นได้ยาก หรือนาน ๆ จะเกิดขึ้นที)
– นับเป็นบลูมูนในรอบ 3 ปี ครั้งล่าสุดที่เกิดบลูมูน คือวันที่ 31 ตุลาคม 2563 (ตรงกับวันฮาโลวีน – ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon)
– การเกิดปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” ครั้งต่อไป องค์การนาซา (NASA) เผยข้อมูลว่าจะเกิดขึ้นในปี 2037 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า
ขอบคุณภาพ – NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ