หลายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติกำลังจะเกิดในช่วงระยะอันใกล้ และมีผลกระทบต่อชาวเรา โดยเฉพาะอากาศร้อนทะลุเดือด คาดอาจจะสูงแตะ 43 องศาพระอาทิตย์ตั้งฉากไร้เงาในช่วงสัปดาห์นี้ จนถึง 11 เม.ย.รับสงกรานต์ กระทั่ง ความงดงามของหมู่ดาวที่เรียงตัวบนท้องฟ้า…
ในช่วงเดือน เม.ย. จนถึง พ.ค.นี้ จะมีหลายๆ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น TOPPIC Time ขอไล่เรียง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อรับภาวะโลกเดือด ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ ให้ชาวบ้านเตรียมพร้อมรับมือ ตามข้อเท็จจริง ศาสตร์ และความเชื่อ…
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ อุณหภูมิมีสิทธิ์ทะลุ 43 องศา – มีฝนก่อนสงกรานต์
เริ่มต้นที่คาดการณ์อุณหภูมิรายสัปดาห์ จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป(ECMWF) : อีก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่ชาวโลกต้องเตรียมตัวและเตรียมรับมือ
– ช่วง 1-8 เม.ย. จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุม ฝนน้อย มีฝนบ้างเล็กน้อย บริเวณภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก ส่วนใหญ่อากาศแห้ง ลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุม และเป็นช่วงที่มีโอกาสร้อนแรง อุณภูมิสูงสุดอาจถึง 41 – 43 ซ. ต้องระวังโรคที่มากับความร้อน เช่น โรคลมแดด ท้องร่วง ส่วนภาคใต้ลมตะวันออก มีกำลังอ่อน พัดปกคลุม อากาศร้อน ฝนเกิดขึ้นได้บางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน ช่วงนี้คลื่นลมไม่แรง ท่องเที่ยวทะเลได้ ไม่มีอุปสรรค ระวังเฉพาะช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง นับเป็น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพ
– 9-11 เม.ย. เกิด ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ลมเปลี่ยนทิศ (มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน) พอมีสัญญาณฝนเพิ่มขึ้นในระยะแรก เริ่มบริเวณทางภาคอีสาน และภาคตะวันออก ในวันที่ 9 เม.ย.(ก่อนเทศกาลสงกรานต์) พอจะคลายความร้อนของอากาศได้บ้าง แต่ต้องระวังพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บ) ที่จะเกิดขึ้น (ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังปานกลาง)
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ “ไร้เงา” ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัด
เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดไทม์ไลน์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดวงอาทิตย์ตั้งฉาก 77 จังหวัดของไทยปี 2567 ทั้ง 2 ครั้ง
– ช่วง เม.ย. – พ.ค. ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกของปี เริ่มจากทางใต้สุดที่ อ. เบตง จ. ยะลา ในวันที่ 4 เม.ย. 2567 เวลาประมาณ 12:19 น. จากนั้นดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับพื้นที่ต่าง ๆ ของไทย ไล่ลำดับขึ้นไปทางเหนือเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดที่ อ. แม่สาย จ. เชียงราย ในวันที่ 22 พ.ค. 2567 เวลาประมาณ 12:17 น.
– วิธีสังเกตวัตถุกลางแดด ในช่วงที่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากตามเวลาของแต่ละพื้นที่ จะเห็นวัตถุเสมือน “ไร้เงา” เนื่องจากเงาของวัตถุจะตกอยู่ด้านใต้พอดี ทั้งนี้ แม้ว่าดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ แต่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสม ฯลฯ ที่อาจส่งผลต่ออุณหภูมิ ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดของปี
– ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ในหนึ่งปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะ หรือตั้งฉากกับพื้นที่ดังกล่าวถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. และครั้งที่ 2 ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. ทั้งนี้วันและเวลาของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผู้สังเกตบนโลก ส่งผลให้แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจะมีวันและเวลาการเกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากที่แตกต่างกัน
– ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ในพื้นที่ กรุงเทพฯ 26 เม.ย. 2567 เวลา 12:16 น.
ส่งท้ายด้วยปรากฏการณ์ธรรมชาติบนท้องฟ้า
– วันที่ 6 – 7 เม.ย. 2567 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ “ดาวเคียงเดือน” เกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี ดังนั้น การที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน จึงถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถอธิบายได้ ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (ความเชื่อ-จินตนาการ ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล)
– วันที่ 11 เม.ย. 2567 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษก็ต่อเมื่อ ดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง มาปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (5 ดาวเคราะห์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์)