“ราชประสงค์โมเดล“ นำร่องแก้ปัญหาจราจร จัดระเบียบรถ แก้เกมรถบริการ แท็กซี่-สามล้อ จอดแช่ช่องซ้ายสุด จับเวลาเกิน 3 นาที ผิดกฎหมาย ใช้ Ai อัจฉริยะตรวจจับ โชเฟอร์ทุกประเภทต้องรู้!!
ปัญหาจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เรื้อรัง เป็นประเด็นหาเสียงทุกยุคทุกสมัย ของผู้สมัครผู้ว่า กทม. หากจะเปรียบเทียบ ปัญหาจราจร ก็เป็นเสมือนมะเร็งร้าย และก็คงเป็นระยะสุดท้าย หมดหนทางเยียวยา
แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง!! เพราะมีความพยายามในทุกรูปแบบ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะแก้ปัญหาจราจรให้ลุล่วง หรือบรรเทาความเดือดร้อนให้คนกรุงให้ได้มากที่สุด เพราะ กทม.ถือเป็นเมืองหนึ่งที่ติดอันดับระดับโลกว่า เป็นเมืองที่น่าอยู่ ไม่แพ้เมืองใดในโลก?? แต่ก็ยังมีเสียงสะท้อนในใจ และมีคำถามว่า “แก้จราจรเสร็จกี่โมง…!!”
TOPPIC Time เห็นความพยายามของรัฐบาล – กทม.ล่าสุด ลุยริเริ่มแนวทางการจัดการระบบการจราจรในโครงการ “ราชประสงค์โมเดล” ที่มีรากฐานของปัญหารถแท็กซี่ และสามล้อรับจ้าง จอดแช่รอรับผู้โดยสาร ส่งผลจราจรติดขัด ณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ โดยเฉพาะฝั่งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ผุด “ราชประสงค์โมเดล” แก้ปัญหาจราจร
เป้าหมายหลักของโครงการ ก็เพื่อจัดระเบียบแก้ปัญหาจราจร ยกระดับการรักษาความปลอดภัย และสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวในพื้นที่ถนนราชดำริ โดยกรุงเทพมหานครร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ตำรวจ สน.ลุมพินี สน.ปทุมวัน และผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าในบริเวณทั้งสองฝั่งร่วมมือกันทำงาน
ใช้ AI แก้ปัญหาจราจร
– เจ้าหน้าที่ ได้ใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับป้ายทะเบียนแก้ปัญหาจราจร หากพบผู้กระทำความผิด หรือ จอดเกิน 3 นาที ที่ระบบได้กำหนดไว้ตามกฎหมาย กล้องจะถ่ายภาพไว้ และระบุเวลาตั้งแต่เข้าจอดถึงเวลาที่กำหนด
– จากนั้นจะส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อแก้ ปัญหาจราจร อย่างเป็นระบบ
– การตั้งเสาเลนบล็อก เพื่อบังคับทิศทางไม่ให้รถเข้าไปจอดขวางการจราจร โดยพยายามให้รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) เข้ามาวิ่งในช่องทางซ้ายสุดของแต่ละฝั่ง ซึ่งเมื่อรถเมล์วิ่งในช่องทางซ้ายสุดแล้ว จะทำให้รถแท็กซี่และรถสามล้อ ไม่สามารถเข้ามาจอดแช่ได้
– การตั้งเสาเลนบล็อก จะเป็นการกำกับช่องทางอื่นๆ บนถนนราชดำริ
– การปักหมุดของนักท่องเที่ยว เช่น คนที่เรียกรถ Grab หรือ Bolt หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยไม่ให้มีการปักหมุดขึ้น-ลงรถกลางถนน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งจากผู้ประกอบการแพลตฟอร์มต่างๆ และศูนย์การค้า ในการเปลี่ยนจุดปักหมุดให้เข้าไปใช้รอบบริเวณด้านในของศูนย์การค้า จะทำให้การกีดขวางแก้ปัญหาจราจรดีขึ้น
– พ่วงปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวต่างชาติ รถแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์ ดูแลอำนวยความสะดวกระบบคมนาคม หวังสร้างประสบการณ์ความประทับใจที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยว
ล่าสุดทางด้าน กทม. เผยว่า จากการทดลองแก้ ปัญหาจราจร ใช้งานในระยะเริ่มต้น พบว่า สามารถช่วยลดปริมาณรถที่จอดแช่บริเวณดังกล่าวได้
กทม. ผนึก บช.น. แก้ปัญหาจราจรเมืองกรุงยั่งยืน
1. การแก้ไขปัญหาจราจรจุดฝืด กทม.ได้ร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) วิเคราะห์ข้อมูลทางวิศวกรรมจราจรเชิงลึก (Traffic Engineering) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรจุดฝืดจำนวน 100 จุด ในความรับผิดชอบของ กทม.
2. การติดตั้งและปรับรอบสัญญาณไฟจราจรแบบ Adaptive Signaling จะปรับรอบสัญญาณไฟจราจรทั้งหมด 47 ทางแยก ตามที่ สนข.ให้เสนอแนะ และปรับเพิ่มอีก 17 ทางแยก จากการสำรวจปัญหาจราจร โดยในปีงบประมาณ 2567 จะติดตั้งจำนวน 72 ทางแยก และจะขยายผลในปีงบประมาณ 2568 อีกจำนวน 100 ทางแยก
3. การกำหนดพื้นที่จำกัดความเร็ว (Speed Limit Zone) ในเขตเมืองหรือชุมชน กทม.ให้พิจารณาออกข้อบังคับจราจรจำกัดความเร็ว 50 กม./ชม. นำร่องเส้นทาง เขตพื้นที่ชั้นใน 40 เส้นทาง
4. การจัดทำช่องทางรถจักรยานยนต์บนสะพาน จะนำร่องบนสะพานที่มีกายภาพเพียงพอก่อน ได้แก่ สะพานข้ามแยกเกษตรและสะพานข้ามแยกร่มเกล้า
5. การเชื่อมต่อสัญญาณภาพจากกล้อง CCTV จำนวน 22 ทางแยก เพื่อใช้บริหารจัดการแก้ปัญหาจราจร เล็ง ตรวจจับความเร็ว, ตรวจจับผู้กระทำผิด, ส่งข้อมูลให้ บช.น. เปรียบเทียบปรับสูงสุด, ลดปัญหาจราจร การจอดรถกีดขวางทางม้าลาย, การฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร นอจากนี้ ยังเชื่อมสัญญาณภาพจากกล้อง CCTV ไปยังป้อมจราจร เพื่อใช้ข้อมูลภาพบริหารจัดการสัญญาณไฟให้สอดคล้องกับปริมาณการจราจรในพื้นที่
6. การขยายและจัดทำเส้นทางเดินรถโดยสาร ด่วนพิเศษ (BRT) กทม. มีแผนขยายเส้นทางให้บริการไปถนนสาทรต่อถึงถนนพระรามที่ 4 ที่แยกวิทยุ, จัดทำช่อง Bus Lane ในชั่วโมงเร่งด่วน บนถนนสาทร จะยกเว้นให้รถจักรยานยนต์วิ่งร่วมได้
ขอบคุณภาพ : สำนักงานประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร