มังกร สัตว์ในตำนาน ที่มีเรื่องราวเล่าขานอย่างหลากหลายในทั่วโลก เกี่ยวกับต้นกำเนิด ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและประเทศนั้นๆ คุณๆ เคยสงสัยมั้ย? ว่าทำไม มังกร ถึงมีความหมายและสำคัญมากๆ จนเป็น 1 ใน 12 นักษัตร ทั้งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริงๆ ไม่เหมือน ชวด ฉลู ขาล เถาะ นั่นแหล่ะ… TOPPIC Time by ลี้แต่ไม่ลับ จะพาไปรู้จัก “มังกร” ให้มากขึ้น ไปอ่านกันจ้ะ…
รู้ลึก มังกร สัตว์ในตำนาน ต้นกำเนิดเทพเจ้าความมงคล
มังกร ถือเป็นสัตว์วิเศษในตำนาน ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในความเชื่อและวรรณคดีของจีนและตะวันตก รวมไปถึงญี่ปุ่น อินเดีย ฮินดู และประเทศไทยเอง ที่ว่ากันว่า มังกรไทย ก็คือ พญานาค จะเห็นได้ว่า…แม้จะใช้คำว่า “มังกร” เหมือนกัน แต่มังกรของแต่ละวัฒนธรรม แต่ละตำนาน ความเชื่อ ก็สื่อถึงลักษณะของ มังกร แตกต่างกันออกไปด้วย
ต้นกำเนิด ตำนาน มังกร 5 วัฒนธรรม
1. มังกรจีน (Chinese Dragon)
มังกรจีนเป็นตัวละครที่มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมจีน มังกรจีนมักถูกบรรยายว่า มีรูปร่างของสัตว์ประหลาด เป็นสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ และยังมี 4 หัว 5 หัว ด้วย
2. มังกรยุโรป (European Dragon)
มังกรยุโรป หรือมังกรตะวันตก มักมีลักษณะทางกายภาพที่ดูสพรึงมากขึ้น มักมีลำตัวยาว ปีกใหญ่ และลำคอที่ยืดหยุ่น และสามารถพ่นไฟได้ มังกรในยุโรป มักถูกบรรยายว่า เป็นมังกรที่ชอบกินเนื้อคน ดูดุร้าย
3. มังกรญี่ปุ่น (Japanese Dragon)
มังกรญี่ปุ่น มักมีรูปร่างที่คล้ายกับงู มีลักษณะหัวที่ยาว ลำตัวที่บาง และปีกที่น้อย มังกรญี่ปุ่นมักถูกบรรยายว่ามีพลังทางเวทมนตร์ และมักเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความรุนแรง
4. มังกรและงูในตำนานฮินดู (Hindu Dragon and Serpent)
ในตำนานฮินดู มังกรและงู มักเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ มังกรมักเป็นมังกรน้อยๆ ที่ถูกสร้างจากพระพิฆเนศ ในขณะที่งูมักเป็นสัญลักษณ์ของสงครามและทางธรรม
5. มังกรอินเดีย (Indian Dragon)
ในวรรณคดีอินเดีย มังกร มักถูกบรรยายว่าเป็นสัตว์ประหลาดที่ทรงพลัง แต่ขณะเดียวกันก็ประทานความสุขได้
อย่างไรก็ตาม มังกร ที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียนั้น ค่อนข้างจะแตกต่างกันในแง่สัญลักษณ์ โดยเฉพาะของ “จีน” ที่มักจะถือว่า “มังกร” นั้นคือ “เทพเจ้า” และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ ซึ่งเป็นสมมติเทพ แต่ทางยุโรปนั้นมักจะถือมังกรเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย อันเป็นคติที่สืบทอดมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรป
ถอดเกล็ด มังกรจีน ปีมะโรง มังกร ตำนานแห่งความมงคล
ทีนี้ ลี้แต่ไม่ลับ จะพามาดูลักษณะของ มังกรจีน กันเถอะ เนื่องจากปีนี้เป็นปีมะโรง ซึ่งถือเป็นปีมังกร และเป็นปีแห่งความมงคล ตามความเชื่อของคนจีนและคนไทย ซึ่งลักษณะของ มังกรจีน นั้นเกิดจากจินตนาการ คนจีนจะแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่างแตกต่างกันไป โดยมังกรในงานด้านจิตกรรมประติมากรรมของจีน จะมีลักษณะดังนี้…
– หัวมังกร คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้า หรือหัววัว หรือหัวจระเข้
– หนวดมังกร คล้ายกับหนวดของมนุษย์
– เขามังกร คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
– ตามังกร คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่า มาจากตาของมาร หรือปีศาจ หรือตาของสิงโต
– หูมังกร คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่า มังกร ได้ยินเสียงทางเขา ที่เหมือนเขากวางนั้น
– คอมังกร คล้ายกับคองู
– ท้องมังกร คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
– เกล็ดมังกร คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสันหลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆ
– กงเล็บมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บ หรือ 3 เล็บ
– ฝ่าเท้ามังกร คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ
มังกร ในพจนานุกรมจีน
คุณรู้หรือไม่? ในพจนานุกรมของประเทศจีน มีการบรรจุคำว่า มังกร ลงไป โดยมีความหมายว่า “มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อหายใจ ลมหายใจของมันมีลักษณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ”
มังกร สิริมงคลตามความเชื่อของจีน
ด้วยความเชื่อว่า มังกร เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้าที่ได้รับความนับถือเพราะมีพลังอำนาจ คุณงามความดี ความกล้าหาญ คุณธรรม และความยิ่งใหญ่ดุจดั่งเทพเจ้า ชาวจีนโบราณเชื่อกันว่า การขอพร มังกร จะเพิ่มพลังบวกความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต เพราะมังกรถือเป็นเทพารักษ์ประจำธาตุ ที่บันดาลความอุดมสมบูรณ์ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลตลอดปี โดยเชื่อกันว่ามังกรมีอยู่ 5 ภาคด้วยกัน คือ มังกรน้ำ มังกรไม้ มังกรไฟ มังกรดิน และมังกรทอง เป็นความเชื่อที่สอดคล้องกับเรื่อง 5 ธาตุสำคัญในจักรวาล ได้แก่ ดิน น้ำ ไม้ ไฟ และทอง ที่ช่วยส่งเสริมกัน ดังนี้
– มังกรไฟ จะส่งเสริมผู้ที่เกิดธาตุดิน
– มังกรน้ำ จะส่งเสริมผู้ที่เกิดธาตุไม้
– มังกรดิน จะส่งเสริมผู้ที่เกิดธาตุทอง
– มังกรทอง จะส่งเสริมผู้ที่เกิดธาตุน้ำ
– มังกรไม้ จะส่งเสริมผู้ที่เกิดธาตุไฟ
มังกร กับเทศกาลตรุษจีน
มังกร มีความสำคัญมากในเทศกาลตรุษจีน และ มังกร ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แทนความเจริญรุ่งเรือง ความแข็งแกร่ง และโชคดี ในวัฒนธรรมจีน ตรุษจีน หรือเทศกาลตรุษนั้น เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดในประเทศจีน และมังกรมักเป็นส่วนหนึ่งของเฉลิมฉลองนี้
ในงานและพิธีกรรมตรุษจีน มังกร มักถูกนำมาแสดงอย่างสวยงาม มังกรที่ใช้ในเทศกาลนี้ มักมีลักษณะที่มีสีสันสดใสและถูกตกแต่งอย่างสวยงามและหรูหรา แม้กระทั่งในเมนูอาหารและการตกแต่ง มังกรมักปรากฏในเมนูอาหารที่เป็นที่นิยม และยังถูกนำมาตกแต่งในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ที่ทำงาน และบ้าน
ดังนั้น มังกร จึงถือว่ามีบทบาททางวัฒนธรรมที่สำคัญในเทศกาลตรุษจีน และเทศกาลอื่นๆ เรียกว่า เมื่อ ลี้แต่ไม่ลับ นึกถึงประเทศจีน คนจีน ก็นึกถึง มังกร ขึ้นมาทันที เพราะ มังกรจีน นั้นเป็นที่ยอมรับ และถูกนำมาใช้กับเทศกาลสำคัญๆ ในวัฒนธรรมของจีนเสมอมานั่นเอง.