คิดว่าตัวเองเป็น ผู้ฟัง ที่ดี? หยุดมั่นแล้วฟังใหม่ค่ะ งานวิจัยจาก Harvard Business Review พบว่าคนส่วนใหญ่มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเป็น ผู้ฟังที่ดี มาตลอด
ถ้าถามว่า ผู้ฟังที่ดี ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? ร้อยทั้งร้อยต้องตอบว่า1. ไม่พูดแทรก
2. พยักหน้าตาม 3. ย้อนสิ่งที่ฟังได้ถูกเป๊ะพูดง่ายๆ ก็คือต้องทำตัวเป็น “ฟองน้ำ” ซึมซับสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อได้ดี แต่งานวิจัยจาก HBR กลับพบว่า จริงๆ แล้ว ผู้ฟังที่ดี นั้นต้องทำตัวเป็น “แทรมโพลีน” ที่ช่วยให้ผู้พูดได้ bounce ไอเดีย ไปมา ไม่ใช่แค่รับสาร หรือซึมซับพลังงานจากผู้พูดได้ แต่จะต้องช่วย ต่อยอด เสริมพลัง และช่วยตกตระกอนความคิดได้ด้วย ทำให้คุยด้วยแล้วฟิน เหมือนกำลังโดดแทรมโพลีนอยู่เลย
ในความพยายามที่จะช่วยอนุรักษ์ของ rare ยุคนี้ ซึ่งก็คือ ผู้ฟังที่ดี เอาไว้ คุณ Zenger และ Folkman เจ้าของงานวิจัยได้นำเสนอ 6 ระดับของผู้ฟังที่ดี เพื่อให้เราได้สำรวจตัวเอง และปรับปรุงส่วนที่ขาด เปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ฟังที่ดีแบบแท้ทรู ให้คนคุยฟินจนติดใจ
เช็ก 6 ระดับของการเป็น ผู้ฟังที่ดี
ระดับ 1 : สร้าง Safe zone ให้รู้สึกสบายใจที่จะพูด
ผู้ฟังระดับนี้ จะสามารถสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในการพูดคุยเรื่องยากๆ ปัญหาที่ซับซ้อน หรือเรื่องที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวได้ระดับ 2 : ทำให้ผู้พูดรู้สึกเหมือนโลกนี้มีแค่เรา
ผู้ฟังระดับนี้จะกำจัดสิ่งรบกวน เช่น มือถือหรือคอมพิวเตอร์ แล้วพุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่ผู้พูด พร้อมทั้งแสดงออกด้วยการมองตาในขณะพูดคุยระดับ 3 : ตามทัน จับประเด็นได้
ผู้ฟังระดับนี้จะพยายามทำความเข้าใจสาร ที่ผู้พูดต้องการจะสื่อ บอกได้ว่าประเด็นที่เขากำลังพูดคืออะไร มีการถามคำถาม และทวนประเด็น สรุปไอเดียเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจตรงกันระดับ 4 : ฟังด้วยหู รับรู้ด้วยตา
ผู้ฟังระดับนี้จะสังเกต “อาการ” จากภาษากายของผู้พูด เช่น สีหน้า ท่าทาง รวมไปถึงการแสดงออกเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้พูดเองอาจจะไม่รู้ตัว เช่น หายใจแรงไหม? เหงื่อออกหรือเปล่า? ท่าทางเป็นอย่างไร? เพราะ 80% ของการสื่อสารมาจากภาษากาย ผู้ฟังที่ดีจึงเป็นผู้ที่ใช้ทั้งหูและตาในการฟังระดับ 5 : Empathize จนเข้าใจว่าทำไมรู้สึกแบบนี้
ผู้ฟังเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูด ที่มีต่อประเด็นที่กำลังพูดมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถระบุได้ว่า เขารู้สึกอย่างไรต่อเรื่องนี้ รวมถึงมีความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของความรู้สึกนั้น และแสดงออกด้วยความหวังดี โดยไม่ตัดสินผู้พูดระดับ 6 : ช่วยหาทางออก ต่อยอดไอเดีย
ผู้ฟังถามคำถามเพื่อช่วยผู้พูดได้จัดระเบียบ หรือตกตระกอนทางความคิด และช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ อาจจะด้วยการออกความเห็น หรือให้คำแนะนำ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เขากำลังพูดเป็นหลัก ไม่เบี่ยงความสนใจ หรือเปลี่ยนประเด็นที่พูดมาเป็นเรื่องของตัวเอง
ระดับการฟังแต่ละระดับ มีความเชื่อมโยงกัน ผู้ฟังที่ดี จึงเป็นคนที่มีทักษะการฟังครบทั้ง 6 ระดับ เพราะฉะนั้น ถ้ามีคนบอกว่า คุยกับเราเหมือนคุยกับกำแพง ก็แปลว่า เราต้องไปปรับปรุงระดับอื่นๆ เช่น เรื่องการทำความเข้าใจและมีการส่วนร่วมกับบทสนทนา (3, 5, 6) หรือถ้ามีคนบอกว่าเราชอบพูดแทรก ชอบเสนอวิธีแก้ปัญหามากกว่ารับฟัง ก็ต้องไปปรับปรุงระดับ 1-5 เสียก่อน จะได้เป็นผู้ฟังที่ดีจริงๆ แบบแทรมโพลีน ที่ยิ่งเด้งยิ่งมันส์ ยิ่งโดดยิ่งฟินนนน
ที่มา: YourNextU ศูนย์รวมวิชาชีวิต พร้อมเสริมทักษะที่ในตำราไม่ได้สอน! ใครอ่านมาถึงตรงนี้ เก่งมาก! แต่จะเก่งกว่านี้ถ้าได้ไปเรียนวิชาชีวิตกับ YourNextU ครบทุกทักษะที่คนคุณภาพต้องมี ส่งตรงจากสถาบันระดับโลก จัดเต็มทั้ง Hard skills และ Soft skills คลิก