การทำงาน ว่าด้วยเรื่องของ ทักษะการทำงาน ทำไมหลายคนถึง ทำงานหนัก จนแทบจะเจียนตาย แต่ไม่รุ่งสักที นั่นเป็นเพราะสาเหตุอะไร หรือเพราะขาดทักษะ ที่นำไปสู่ความสำเร็จในแบบของโลกยุคใหม่กัน วันนี้ TOPPIC Time จะพาทุกคนไปไขคำตอบ!!
How To ทำงานหนัก สาเหตุขาดทักษะ ที่ทำไมไม่รุ่ง!!
บางคน ทำงานรุ่ง บางคน ทำงานร่วง หลายคนย่ำอยู่กับที่
ไม่มีใครปฏิเสธได้จริงๆ ว่าในช่วง 3-4 ปีมานี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก แนวคิด ทัศนคติ กระแสสังคม พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทักษะอาชีพที่เรียกได้ว่า เคยเป็นงานนอกกระแส กลับบูมอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น ไรเดอร์ส่งอาหาร, TikToker, ขายของออนไลน์, นักเล่นหุ้น, นักเขียนนิยายออนไลน์ ฯลฯ
แต่ขณะเดียวกัน คน ทำงาน หลายคนก็ยังคงเกาะตำแหน่ง เหนียวแน่นไม่ไปไหน ด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม ชีวิตแบบเดิม ทว่าต้องทนกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่แย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งเราก็จะได้เห็นว่า ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ กับการใช้ชีวิตอย่างมาก คนที่แค่พออยู่พอกิน ไปจนถึงด้านกลับ ก็คือคนที่ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอัน จากการพยายามเอาชีวิตรอดในโลกยุคใหม่นี้เลย และกำลังเอาตัวรอดไปในแต่ละวันอย่างยากลำบากเจียนตาย
สาเหตุที่ทำให้ ทำงาน ร่วง!!
ในคนทั้ง 3 รูปแบบที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีเรื่องดวงเข้ามาเกี่ยว ทำให้คน ทำงาน แต่ละคนมีระดับความสำเร็จที่ต่างกันไป ถึงอย่างนั้น การมี ‘Soft Skills’ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, มูลนิธิคาร์เนกี และศูนย์วิจัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า 85% ของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการมี Soft Skills ที่ดี โดยหากขาด Soft Skills ไปก็จะทำให้มาตรฐานการทำงานลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ลดลง และยังส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรใหม่ๆ ในวงกว้างอีกด้วย
4 ทักษะการทำงาน The Lost Skills ที่หลายคนหลงลืม
ในเวที SOFT SKILLS BOOTCAMP ครั้งที่ 1 ที่ YourNextU School of life โดย SEAC จัดขึ้น ได้มีการพูดคุยถึงเรื่อง The Lost Skills ทักษะแห่งโลกยุคใหม่ที่ขาดไม่ได้ ซึ่ง ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills” พาสำรวจทักษะชีวิตที่ใครหลายคน อาจหลงลืมหรือทำหล่นหายไปเสียแล้ว เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่การอยู่รอด และการประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่ไว้
1. การเรียนรู้ แบบไม่รู้จบ ทักษะการทำงานสุดเบสิก
ท่ามกลาง Soft Skills การทำงานนับพัน ที่ล่องลอยอยู่ตามโลกอินเทอร์เน็ต และหนังสือคู่มือพัฒนาตัวเอง ทักษะแรกที่ ศ.ดร.นภดล เลือกจะแนะนำกลับเป็นเรื่องเบสิค ไม่ต้องมีชื่อจำยากหวือหวาอย่าง “ทักษะการเรียนรู้” โดยได้ให้เหตุผลว่า ในยุคสมัยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็ว เกินกว่าใครจะคาดคิด เรื่องที่เราเคยสอนเคยเรียนกันในคลาสทุกวันนี้ ปีหน้าอาจล้าสมัยไปเสียแล้ว ฉะนั้น ทักษะ ที่จะซึมซับเรื่องราวใหม่ๆ เข้ามาเติมเต็มสมองอยู่ตลอดเวลาจึงสำคัญ โดยการฝึกตัวเองให้รักการเรียนรู้ โดยหัวใจสำคัญ คือ การที่เราต้องรู้ว่า เรียนไปแล้วได้อะไร ความรู้ชุดนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพื่อทำให้การเรียนอะไรสักอย่างมีความหมาย
2. เลือกที่จะเรียนรู้ เลือกโฟกัส แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
ในโลกนี้มีความรู้ด้าน การทำงาน อยู่มากมายหลายศาสตร์ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อย คิดว่าการได้มีความรู้ติดหัวไว้ ยิ่งมากยิ่งดี ดังคำกล่าว “Why Choose? When You Can Have Them All” อยากเก่ง อยากได้ความรู้อะไร ก็เลือกช็อปปิ้งแบบบุฟเฟต์จาก Google ไปเลยสิ ทว่าระดับความจำและศักยภาพในการทำความเข้าใจของมนุษย์ก็มีจำกัด หากเทียบกับองค์ความรู้ทั้งหมด ที่มีอยู่รอบตัวในตอนนี้ เราจึงต้องมี “ทักษะการเลือก“เพื่อคัดกรองสิ่งที่ควรต้องเรียน และนำมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อไม่ให้ตัวเอง Overload จนเกินไปจะดีกว่า
3. ปัญญาประดิษฐ์ อาจแทนที่ คนเก่ง กับทักษะการทำงานที่ไม่มีใครมาแทนได้
ยุคนี้เป็นยุคที่น่ากลัวสำหรับ “คนเก่ง” เพราะไม่ว่าทักษะใดในการ ทำงาน ก็มีวี่แววว่าจะโดนปัญญาประดิษฐ์กับหุ่นยนต์ เข้ามาแย่งงานได้ทุกเมื่อ ทั้งงานสายบัญชี, พิสูจน์อักษร, งานออกแบบ ไปจนถึงงานสายความคิดสร้างสรรค์อย่าง Creative Content หรือนักเขียนบทความ ก็มีข่าวว่ามีเอไอที่สามารถผลิตผลงานลักษณะนี้แทนมนุษย์ได้เช่นกัน ฉะนั้น การรับมือที่ดีที่สุดคือการ Up-Skill & Re-Skill อยู่เสมอ เพื่อสร้าง “ทักษะที่ไม่มีใครมาแทนได้” ให้เกิดขึ้นในตนเอง
4. เรียนรู้และฝึกฝนได้ ทักษะการทำงานสุดสำคัญ!!
ศ.ดร.นภดล ได้ทิ้งท้ายว่า จากที่กล่าวมาทั้งหมด อาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้เลย หากคนเราขาดความเชื่อที่ว่า…ตนนั้น “เรียนรู้และฝึกฝนได้” ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญเช่นกัน ศ.ดร.นภดล เคยนิยามตัวเองว่าเป็น Introvert คนหนึ่ง คือไม่ชอบที่จะพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ไม่ได้กล้าแสดงออก แต่ก็พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นอาจารย์ และนักจัดพอดแคสต์ในทุกวันนี้ได้ จากความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความรู้และเรื่องราวดีๆ ที่ตนได้พบเจอมากให้กับคนอื่น อะไรก็ตามที่เราเคยไม่เก่ง ไม่เคยทำได้มาก่อน หากได้ลองเปิดโอกาส เพื่อฝึกฝนตนเองดู ก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อตัวเอง และโลกใบนี้ก็เป็นได้.