จัดการ ผู้ร่วมงานต่าง Gen ในองค์กรอย่างไร ให้พร้อมเรียนรู้ พาองค์กรโตก้าวกระโดดได้ งานนี้อ้างอิงบทความจาก ซีแอค (SEAC) ผู้นำด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต หนึ่งในความท้าทายที่องค์กรไทยต้องพบเจอในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือการที่สังคมไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในไม่ช้านี้ การที่อัตราเด็กเกิดใหม่ลดลงเป็นอย่างมาก ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ทำให้การเฟ้นหาพนักงานกลุ่ม Talent รุ่นใหม่ จะยิ่งมีความยากมากขึ้นในทุกๆ ปี
นั่นจึงทำให้หลายองค์กร พยายามที่จะเฟ้นหาพนักงานรุ่นใหม่ ที่เป็นกลุ่ม Talent เข้ามาในองค์กรตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนพนักงานรุ่นใหม่ และปัญหาของการที่พนักงานปัจจุบัน อาจปรับตัวไม่ทันกับเทรนด์โลก ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกปี
แต่การที่พนักงาน Talent ยุคใหม่ ต้องเข้ามาทำงานร่วมกับพนักงาน Talent ยุคก่อน อาจก่อให้เกิดประเด็นต่อองค์กรได้ นั่นก็คือเรื่องของ ‘การทำงานร่วมกันระหว่าง Generation’ หรือ ผู้ร่วมงานต่าง Gen ที่คนแต่ละรุ่น ก็มีความต่างกัน ทั้งทางความคิด ความเข้าใจ ในด้านเทคโนโลยี มุมมองต่อการทำงาน และวิธีการในการทำงาน จนอาจเกิดเป็นจุดขัดแย้ง ที่นำไปสู่หายนะต่อวัฒนธรรมองค์กร และระบบการทำงานได้
David Stanislaw นักจิตบำบัด และผู้ก่อตั้ง Stanislaw Consulting เคยกล่าวถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กร จากการที่ผู้นำ ไม่สามารถจัดการกับเรื่องของ Generation Gap ได้อย่างถูกวิธีว่า อาจทำให้องค์กรก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็น ด้านการแบ่งแยกพวกพ้อง โดยไม่สนใจทีมหรือกลุ่มอื่นๆ, การพังทลายของทีมเวิร์กในองค์กร, การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน จนเกิดเป็นความผิดพลาด, พนักงานถูกลดทอนในเรื่องของแรงจูงใจ และความสามารถ ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร และความน่าดึงดูดต่อพนักงานกลุ่ม Talent ในอนาคต และขั้นที่หนักที่สุด คือการตั้งแง่ต่อประสิทธิภาพ ในการบริหารงานของผู้นำ จนไม่เชื่อใจในการบริหารงานอีกต่อไป
ฉะนั้น การแก้ปัญหาในเรื่องของ Generation Gap นั้น องค์กรอาจต้องเริ่มจากการปรับแก้ตั้งแต่การสื่อสารในระดับผู้นำ ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนมายด์เซ็ตในระดับพนักงาน
ซึ่งในระดับองค์กรนั้น จากการศึกษาของ Robert Half บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลจากแคลิฟอร์เนีย ได้สำรวจเอาไว้ว่า หนึ่งในความต่างของ Generation Gap ที่มักก่อปัญหาขึ้นบ่อยที่สุด คือเรื่องของ “การสื่อสาร” ตั้งแต่ระดับทั่วไป ไปจนถึงระดับใหญ่ที่เป็นภาพรวม หรือจุดประสงค์ขององค์กร ที่สูงถึง 30%
ในแง่ภาพรวมขององค์กร แน่นอนว่าการที่คนมีวิธีคิดในรูปแบบเก่า และคนที่มีมีวิธีคิดในรูปแบบใหม่มาอยู่ร่วมกัน ถ้าหากว่าองค์กรเอง สื่อสารเป้าหมายเอาไว้ไม่ชัดเจน และไปไม่ถึง พนักงานก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา Generation Gap จากความเข้าใจที่ต่างกันได้
ซึ่งสิ่งที่องค์กรควรสนใจ เรื่อง ผู้ร่วมงานต่าง Gen คือเรื่องของการปรับมายด์เซ็ตของผู้นำและพนักงาน เพื่อการปรับตัวเข้าหากัน
ในแง่มุมของผู้นำ Paymon Hamidi ผู้บริหารบริษัทด้านไอทีอย่าง Infracore LLC ได้แนะนำว่า สำหรับผู้นำ หรือหัวหน้าทีมนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับแรก คือเรื่องลักษณะนิสัยของผู้คนแต่ละ Generation ว่าพวกเขาแตกต่างกันอย่างไร เพราะคนแต่ละช่วงวัย มักจะมีนิสัย และความสามารถ ที่เป็นข้อดีในรูปแบบที่แตกต่างกัน จึงทำให้พวกเขาคาดหวังกับระบบ หรือรูปแบบการทำงาน ที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่าเป็นหลัก
นั่นจึงทำให้ผู้นำควรที่จะจัดการเรื่องบริหารคน และระบบการทำงาน ให้มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับคนทำงานแต่ละ Generation ก่อนที่จะเริ่มให้มาประสานงานร่วมกัน ซึ่งการที่ผู้นำจะเข้าใจ และสรรหาวิธีการบริหารได้อย่างเหมาะสมนั้น ตัวผู้นำเองก็ควรที่จะต้องมีทักษะเเละเข้าใจในเรื่องของ Collaborative Leadership ก่อน
ซึ่งการที่ผู้นำรู้ และเข้าใจถึงเรื่อง Collaborative Leadership นั้น จะช่วยทำให้ผู้นำรู้วิธีการสื่อสาร เเละการสร้างความร่วมมือร่วมใจ ในการทำงานระหว่างคนทุกกลุ่ม ให้เกิดความสบายใจ และความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้กับบรรดาลูกน้องในแต่ละ Generation อีกด้วย
และสำหรับบรรดากลุ่มพนักงาน ตามที่ Paymon Hamidi ได้กล่าวไว้ว่า พนักงานในแต่ละ Generation มักจะมีนิสัย และความสามารถที่เป็นข้อดี ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ฉะนั้น การที่จะทำให้ผู้คนในแต่ละ Generation เริ่มเปิดใจ และเปลี่ยนความคิด มาสนับสนุนซึ่งกันและกัน จึงต้องเริ่มต้นจากการปรับมายด์เซ็ตของพนักงาน ให้มีความเข้าใจในเรื่องของ Collaboration ในการทำงานก่อนเป็นลำดับแรก
โดยการปลูกฝังเรื่องของ Collaboration นั้น ก็จะช่วยทำให้พนักงานเริ่มที่จะเรียนรู้ในการปฏิบัติตัว และการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวไปสู่การเป็นหัวหน้า ที่มีทักษะในเรื่องของ Collaborative Leadership ที่จะมาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ให้กับวัฒนธรรมองค์กรด้วยเช่นกัน
การปลูกฝังเรื่อง Collaborative Leadership ตั้งแต่ในระดับหัวหน้า ไปจนถึงระดับลูกน้องกลุ่ม Talent หรือกลุ่มต่างๆ ในแต่ละ Generation นั้น จะช่วยเสริมให้ทุกคนมีมายด์เซ็ตในการทำงานที่ถูกต้อง และพร้อมปรับตัวเข้าหากัน เพื่อเรียนรู้ เเละส่งเสริมการทำงานของกันเเละกัน รวมถึงมองเป้าหมายรวมของทีมเป็นหลักด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังจะช่วยเสริมให้องค์กร มีวัฒนธรรมการทำงานที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
Generation Gap เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายองค์กร ต้องเจออยู่เป็นประจำ นี่ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ ที่มองข้ามได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับหัวหน้า ไปจนถึงระดับพนักงาน
แต่ถ้าองค์กรเตรียมตัวรับมือกับปัญหาอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ปัญหานี้ กลายเป็นอาวุธที่แข็งแกร่ง ให้องค์กรพร้อมต่อสู้ในโลกของการแข่งขันในอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่ง SEAC ก็พร้อมที่จะเข้ามาช่วยในการแก้ไข เเละเสริมทักษะให้กับคนในองค์กรของคุณ ด้วยโปรแกรม Leadership Solution ที่พร้อมจะช่วยปลูกฝังทั้งในด้านของ Collaborative Leadership ให้กับทั้งผู้นำ และพนักงานกลุ่มต่างๆ ในทุก Generation อย่างเหมาะสม เพื่อเสริมให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข พร้อมต่อการก้าวไปสู่เป้าหมาย ที่องค์กรตั้งเอาไว้อย่างพร้อมเพรียงกัน