กม.แรงงานยุคใหม่!! รองรับการเปลี่ยนแปลง ทำงานที่บ้าน/ทำงานที่ไหนก็ได้ รวมถึงหากเลิกงานแล้ว!! อิสระเต็มเหนี่ยว ไม่รับติดต่อทุกรูปแบบ (รวมถึงไม่ทำโอเค)
มนุษย์เงินเดือนต้องรู้!! ทำงานอย่างไรให้รู้สึกเหมือนเที่ยวกับกฎหมายใหม่ ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 18 เมษายน 2566 คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) ที่มีการแก้ไขใหม่รับกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน สังคม วิถีชีวิต รวมถึงเศรษฐกิจ
กางสาระสำคัญของกฎหมายใหม่ ที่ภาคแรงงานต้องรู้!!
“พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (มีผล 18 เม.ย. 2566)
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 “มาตรา 23/1 เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง หรือในกรณีมีความจำเป็น นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้างหรือที่ตกลงไว้กับนายจ้าง ซึ่งมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบกิจการ หรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้โดยสะดวกให้ลูกจ้างนำงานดังกล่าวไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้
การตกลงตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทำเป็นหนังสือหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึง และนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง โดยอาจตกลงให้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง
- วันเวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา
- หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด รวมทั้งการลาประเภทต่าง ๆ
- ขอบเขตหน้าที่การทำงานของลูกจ้างและการควบคุมหรือกำกับการทำงานของนายจ้าง
ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ที่จำเป็น อันเนื่องจากการทำงาน เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือสิ้นสุดการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในทางใด ๆ กับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน
กล่าวสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ
- ตกลง Work From Home / Work From Anywhere ได้ แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- หลังเลิกงาน ลูกจ้าง มีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อ เว้นแต่ ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือล่วงหน้าก่อน
แม้กฎหมายฉบับใหม่ จะเปิดกว้างให้ลูกจ้างทำข้อตกลงกับนายจ้างได้อย่างเต็มที่ แต่ในทางปฏิบัติจริง!! ก็ยังสวนทางอยู่ดี ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือ ทำงานกับนายจ้างอย่าง เข้าใจเห็นใจซึ่งกันและกัน ที่สำคัญ…สนุกกับงาน!!